มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาลัยน่าน เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีหน้าที่สำคัญ ในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคปกติและภาคพิเศษเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา อีกทั้งยังดำเนินงานวิจัยและงานบริการวิชาการ สู่ท้องถิ่นในจังหวัดเพื่อขจัดปัญหาและพัฒนาคุณภาพของชุมชนในจังหวัดน่านให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น แนวคิดการจัดตั้งสถานศึกษาได้เริ่มขึ้นในปีพุทธศักราช 2538 กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งวิทยาลัยครูน่าน สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ได้เป็นตัวแทนของกระทรวงในการแสวงหาพื้นที่สำหรับการจัดตั้งวิทยาครูน่าน ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2542 สภาตำบลทุ่งศรีทอง นำโดยพ่อกำนัน ด่วน สิงห์แสง ได้สนับสนุนแนวคิดการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา โดยมอบพื้นที่จำนวน 730 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา โดยมีตัวแทนชุมชน และ ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นผู้รับมอบ และได้จัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตน่านขึ้น และ พ.ศ. 2557 ได้ดำเนินการเปลี่ยนโครงสร้างจาก “วิทยาเขตน่าน” เป็น “วิทยาลัยน่าน” ขึ้น เพื่อสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ และสามารถจัดบริการด้านวิชาการ วิชาชีพแก่ท้องถิ่นและชุมชนได้อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาลัยน่าน
วีดีโอนำเสนอหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
ปัจจุบัน เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร ได้แก่
1.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาบริหารรัฐกิจ
สาขาบริหารการพัฒนา
2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาการจัดการทั่วไป
สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
ตราประจำมหาวิทยาลัย
“วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยบูรณาการตามพันธกิจอย่างมีส่วนร่วม”
“วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ บริหารจัดการด้วยคุณภาพและมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา
มีบทบาทในการชี้นำและร่วมมือกับท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และก้าวร่วมประชาคมอาเซียน”
พันธกิจหลัก 6 ประการ
1.จัดการศึกษาอย่างมีมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.วิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และตอบสนองต่อท้องถิ่น
3.บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น โดยร่วมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับท้องถิ่นอย่างมีมาตรฐาน
4.ทำนุบำรุง รักษาศิลปะและวัฒนธรรม
5.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
6.พัฒนานักศึกษาและท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียน